องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

Sisaket Provincial Administrative Organization

ข้อมูล

ปฏิทินกิจกรรม

ผู้ดูแลระบบ

วัดพระธาตุเรืองรอง

28 มิถุนายน 2563

“พระธาตุเรืองรอง” ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านสร้างเรือง อำเภอเมือง พระธาตุเรืองรอง อยู่ห่างจากตัวเมืองศรีสะเกษไปประมาณ 7.5 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยหลวงปู่ธัมมา พิทักษา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสำหรับให้ชาวพุทธ ลักษณะเป็นอาคารที่มีการผสมผสานศิลปะอีสานใต้ 4 เผ่า ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร และเยอ  มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว บนยอดพระธาตุมีจุดชมวิว ที่สามารถชมทิวทัศน์โดยรอบได้อย่างงดงาม

เมื่อมาถึงวัดแล้วก็ต้องเข้ามากราบสักการะพระประธานที่ประดิษฐานอยู่ภายใน “โบสถ์วัวเทียมเกวียน” ที่มีลักษณะเป็นรูปปั้นวัว 2 ตัวขนาดใหญ่สูงประมาณตึกสองชั้น กำลังลากเกวียนที่ครอบตัวโบสถ์อยู่ ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์วัวเทียมเกวียนนั้น ก็เป็นเหมือนโบสถ์ตามวัดทั่วไป ต่อมาหลวงปู่ธัมมา พิทักษา ได้เห็นว่าในปัจจุบันนั้นหาดูเกวียนได้ยากแล้ว จึงได้จัดสร้างขึ้นให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญของการใช้เกวียนในสมัยก่อน

ใกล้กับโบสถ์จะเป็น “พระธาตุเรืองรอง” ลักษณะเป็นอาคารสูง 6 ชั้น มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดยเป็นแบบผสมผสานแนวศิลปวัฒนธรรมของสี่ชนเผ่าของอีสานใต้ คือ ลาว ส่วย เขมร และเยอ ในแต่ละชั้นจะแบ่งออกเป็นส่วนจัดแสดงต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมเพลินๆ ก่อนขึ้นไปถึงด้านบน

โดยชั้นแรกจะจัดแสดงนิทานพื้นบ้านบอกเล่าถึงความเป็นมา ประเพณีต่างๆ ที่สืบต่อกันมา ถัดมาที่ชั้นสองจะเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีหุ่นจำลองเรื่องราวประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของชนเผ่าลาว ส่วย เขมร และเยอ จัดแสดงอยู่โดยรอบทั้ง 4 มุม


ชั้นที่สามจะเป็นส่วนจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือดักจับสัตว์ หนังสือ เป็นต้น ส่วนในชั้นที่สี่และห้าจะเป็นจุดพักผ่อนให้เหนื่อยก่อนที่จะขึ้นไปยังชั้นสุดท้าย ซึ่งในชั้นสูงสุดนี้จะเป็นที่บรรจุพระบรมเกศาธาตุของพระอรหันต์ และยังเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นโดยรอบได้แบบ 360 องศา

เมื่อลงจากพระธาตุฯ แล้ว อย่าลืมแวะมาสักการะอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัดนี้ นั่นก็คือ “หลวงพ่อร่มเย็น” พระประจำพระธาตุเรืองรอง ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 และรอบบริเวณนี้ยังมีแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม และแบบจำลองปูนปั้นประเพณี พิธีกรรมที่สำคัญของภาคอีสาน ให้ได้เดินชมอีกมากมาย

 


ตราสัญลักษณ์

ITA การวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ อบจ.ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

รวมลิงค์

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

วันนี้ :
37
สัปดาห์นี้ :
8,615
เดือนนี้ :
10,534
ทั้งหมด :
524,275

การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการ

ช่องทางการติดต่อ/สอบถามข้อมูล (Q&A)

องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
Sisaket Provincial Administrative Orgnization
350 หมู่ 3 ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
โทรศัพท์ : 045-814676 โทรสาร : 045-814677 ต่อ 0 Email : [email protected]